TKP HEADLINE

การสู่ขวัญข้าว จังหวัดน่าน



การสู่ขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ชาวนาตำบลน้ำพางนั้นปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางข้าว และเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่คอยช่วยป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ที่จะมาทำลายข้าวในนา และนอกจากนี้นั้นยังเป็นความเชื่อของชาวนาว่าการบูชาพระแม่โพสพนั้นจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเครื่องพิธีจะมีไก่และเครื่องสังเวยแก่พระแม่โพสพ ที่ช่วยให้ได้ทำให้ข้าวได้ผลผลิตเป็นที่พอใจ แต่ถ้าหากเป็นพิธีสู่ขวัญข้าวแบบใหญ่ โดยส่วนมากแล้วเจ้าของจะไม่ได้กล่าวคำสังเวยได้ด้วยตัวเองจึงต้องขออาจารย์ประจำหมู่บ้านเป็นผู้โอกาสให้ โดยจะทำหลังฤดูเก็บเกี่ยว ศึกษาเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จังหวัดน่าน


อุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นพื้นที่ที่ได้สำรวจจากป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน พื้นที่ 285,826 ไร่ ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก ปลา แมลงชนิดต่างๆ ศึกษาเพิ่มเติม

สวนเกษตรอินทรีย์ป๋านึก นางสาวรัตติกาล สายยาโน


สวนเกษตรอินทรีย์ที่เกิดจากความมานะอุตสาหะโดยแท้ ป๋านึกใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการเปลี่ยนสภาพดินที่เป็นสีขาวเพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้ผลมาเป็นดินที่ดีจนมีสวนขนาดใหญ่สร้างรายได้อย่างงดงามอย่างทุกวันนี้ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และความอดทน ที่นี่มีมะนาวหลายต้น มีมะพร้าวมากมาย และผักสวนครัวหลายแปลงปลูกผักสำหรับจะกินเป็นอาหาร เป็นสวนผสมผสานขนานแท้ มะพร้าวที่นี่ต้นไม่สูงแต่ถ้ามองขึ้นไปจะเห็นว่ามีลูกมะพร้าวดกมากๆ พี่อุ้มเก็บมะพร้าวมาเปิดให้เรากินสดๆ จากสวนหวานชื่นใจ แล้วยังมีน้ำมะนาวให้เราชิมสูตรเปรี้ยว และหวานอมเปรี้ยว หายเหนื่อยกันเรียบร้อยต้อนนี้พี่อุ้มก็จะลงมือสอนการทำลูกประคบจากสมุนไพรไม่กี่อย่างที่ปลูกเองที่สวนผสมกับการบูรที่ซื้อมาจากตลาดมามัดรวมกันเป็นลูกประคบกลมๆ ปกติลูกประคบแค่เอาใส่ห่อผ้าแล้วมัดให้แน่นก็ใช้ประคบได้แต่ถ้าจะแสดงฝีมือและความประณีตของเจ้าของต้องมีกระบวนการมัดที่สวยงามเพราะลูกประคบพอทำเสร็จแล้วมันสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน นอกจากประโยชน์จะเอามาประคบให้คลายปวดเมื่อยและผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้ว สมุนไพรที่ประกอบอยู่ในลูกประคบเอามาวางในห้องนอนทำให้หลับสบายได้ด้วย จะเอามาทำเป็นรายได้เสริมก็สบายมาก ศึกษาเพิ่มเติม

ลานหีบอ้อยโบราณ


หีบอ้อยโบราณ ตำนานน้ำอ้อย บ้านป่าคาหมู่ 2 ตำบลบ่อสวก (Legendary Sweet Treat)
ชุมชนบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อสวก ในอดีตเคยเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตน้ำอ้อยที่สำคัญของจังหวัดน่าน เพราะในอดีตคนในชนบทจะบริโภคและใช้น้ำอ้อย แทนน้ำตาลทราย ทุกครอบครัวจะมีอาชีพปลูกอ้อย และแปรรูปน้ำอ้อยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากบรรพบุรุษ ด้วยสภาพของดินร่วนปนทรายและมีโปแต๊สเซี่ยมอยู่ในดิน เหมาะสมกับการปลูกอ้อยและทำให้อ้อยมีความหวาน เป็นพิเศษ ซึ่งในอดีตทุกครอบครัวจะมีหีบอ้อยโบราณ ที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็งและเหนียวทนทาน เช่น ไม้ประดู่ ที่ตัดมาทั้งลำต้น มาเหลา (กลึง) ด้วยขวาน พอได้ขนาดแล้วเจาะเป็นภู สลับกับร่องลึกลงในเนื้อไม้เพื่อเป็นแกนในการขับเคลื่อน จากการประกบกันของหีบอ้อย จำนวน 2 เลา (ต้น) ซึ่งในอดีตจะใช้ทั้งแรงงานคนในการหมุนหีบห้อยในขั้นตอนการหีบอ้อยเพื่อเอาน้ำอ้อยไปต้ม เพื่อเคี่ยวน้ำอ้อยให้เป็นก้อน ต่อมามีผู้ออกแบบทำหีบอ้อย จาก 2 เลา (ต้น) เป็น 3 เลา (ต้น) และฝึกให้กระบือ (ควาย) ในการหมุนหีบอ้อยโบราณ ดังกล่าวศึกษาเพิ่มเติม

น้ำอ้อยบ้านป่าคา



ในอดีต “น้ำอ้อย”  ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปรุงอาหารท้องถิ่นเมืองน่าน ใช้เพื่อให้รสชาดความหวาน เป็นของที่มีประโยชน์มากสำหรับครัวเรือน ใช้รับรองแขกผู้มาเยือน ใช้แลกเปลี่ยนผลผลิตกับบ้านใกล้เรือนเคียง และขาดไม่ได้ในการใช้ประกอบอาหารสำหรับงานบุญประเพณีสำคัญทางศาสนา เช่น งานนมัสการพระธาตุ (ขึ้นธาตุ) และถือเป็นขนมของฝากที่มีคุณค่ายิ่ง ปัจจุบัน ชุมชนบ้านป่าคา ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ยังคงสืบทอดการผลิตน้ำอ้อยจากบรรพบุรุษ เพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยวิถีพอเพียง ทั้งส่งจำหน่ายทั่วไปภายในชุมชนและภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดน่าน รวมทั้งเป็นของที่ระลึกที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนให้ความสนใจหาซื้อเป็นอย่างมาก ศึกษาเพิ่มเติม

ภัยแล้งคืออะไร



ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน 2. สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ศึกษาเพิ่มเติม

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา


ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม2537 อนุมัติให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขึ้น 12 จังหวัด  และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลำปาง และ สระแก้ว
เรียนรู้เพิ่มเติม

ประวัติของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา




ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปลี่ยนชื่อสังกัด จากสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 38 ไร่ 86 ตารางวา

อ่านเพิ่มเติม

อวกาศใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด


สูงขึ้นไปเหนือพื้นโลกร้อยกิโลเมตรคืออาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเรียกว่า “อวกาศ” มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตในอวกาศได้ นั่นเป็นเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทุ่มเทค้นคว้า เพื่อใช้ประโยชน์จากอวกาศให้มากที่สุด ถ้ากล่าวถึง “เทคโนโลยีอวกาศ” เราจะนึกถึง จรวด กระสวยอากาศ สถานีอวกาศ ชุดมนุษย์อวกาศนั่นเป็นเพียงประโยชน์ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ในชีวิตประจำวันเราใช้“บริการ” จากอวกาศโดยไม่รู้ตัว

รู้หรือไม่ว่า การนำวิดีโอจาก YoueTube มาวางหรือเผยแพร่ใน Social media ของตนเองที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไม่ผิดกฏหมาย

ปัจจุบันเราท่านจะมีการใช้งาน Social media ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, Instagram, Twitter, BLOG, หรือแม้กระทั่ง Website ส่วนตัว ขององค์กร หรือของหน่วยงาน พบว่ามีหลายคนที่นำวิดีโอจาก YouTube โดยเฉพาะ Music Video ของค่ายเพลงที่ตนเองชื่นชอบ มาเผยแพร่แชร์ต่อบน Social media ของตนในลักษณะใส่โค๊ดคำสั่ง Embed  แม้จะกระทำในวงจำกัด(หรือเปล่า) ในกลุ่มเพื่อนก็ตาม ซึ่งแต่เดิม(ก่อนเดือนสิงหาคม 2558) ถือว่ามีความผิด เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ และถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย ซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์

แต่ปัจจุบันใดมีการตีความใหม่และได้มีการเผยแพร่โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ว่า การทำเช่นนั้น ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ด้วยเหตุผลที่ว่า
1.การ embed เป็นเพียง code คำสั่งเช่นเดียวกับการ share link ที่ถือเป็นการอ้างอิงกลับไปยังคลิปวิดีโอของเจ้าของลิขสิทธิ์ต้นทาง มิได้โยกย้ายตำแหน่ง แหล่งที่มา หรือการนำลงมาเพื่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ


2.การที่ User หมายถึงผู้บริโภคจะทำการ embed ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของคลิปวิดีโอบน YouTube ไม่ได้ยกเลิกคำสั่งการฝังได้ (ภาพการตั้งค่าจากด้านบน) เท่ากับเป็นการเผยแพร่ในลักษณะ Public ซึ่งถือได้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์วิดีโอนั้นอนุญาตให้สาธารณชนทั่วไปเข้าถึงงานดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้น การนำวิดีโอจาก YouTube มาเผยแพร่ไว้ที่ blog หรือ Social media ของเราในลักษณะของการฝังโค้ด (embed) จึงอาจไม่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับการแชร์ลิงค์ของคลิปวิดีโอ
      

รู้หรือไม่ว่า ระบบปฎิบัติการใดของ Smartphone ในปี 2016 ที่มีผู้ใช้มากที่สุด

เป็นที่ทราบกันว่าระบบปฎิบัติการของ Smartphone ในปัจจุบัน มีทั้ง Android, iOS และ Windows แต่ในความเป็นจริงรอบปี 2016 ที่ผ่านมา เป็นการชิงชัยของระบบปฎิบัติการ เพียง 2 เจ้า เท่านั้น นั่นคือ Android และ iOS แม้ว่า iOS จะเป็นระบบปฎิบัติการที่ใช้ใน iPhone แต่เพียงแบรนด์เดียว โดยมีสาวก Android ที่เป็นแบรนด์อื่นๆแทบทั้งสิ้น
ซึ่งปีที่ผ่านมา (2016) กระแสความนิยมของระบบปฏิบัติการใน Smartphone ของแต่ละประเทศ มีความเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2015 บ้าง

แต่ที่แน่ชัด Android คือผู้ครองตลาดจากสัดส่วนทั่วโลกประจำปี 2016


 อ้างอิงข้อมูลจาก : https://deviceatlas.com/

รู้หรือไม่ว่าอินเทอร์เน็ตที่ท่านเลือกใช้งานร่วมกับ package โทรศัพท์

เคยสงสัยไหมว่า เงื่อนไขของโปรอินเทอร์เน็ตของค่ายโทรศัพท์แต่ละค่ายไม่ว่าจะเป็น 3GB, 4GB, 5GB หรือ 10GB สามารถเล่นอะไร ได้เท่าใด



ด้านล่างเป็นตัวช่วยให้ท่านคำนวนได้ว่า โปรเน็ต หรือโปรเริมเน็ต ที่ท่านเลือก พอเพียงกับการใช้งานตาม life style ที่ท่านเป็นอยู่หรือไม่ การคำนวนเบื้อต้นนี้ จะช่วยวางแผนเลือกโปรที่เหมาะสมกับท่านได้ง่ายขึ้น


Brought to you byConfused.com



รู้หรือไม่ว่า ทางหลวง หมายถึงอะไร และในประเทศไทย มีทางหลวงกี่ประเภท

“ทางหลวง” หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย”

ซึ่งตามพระราชบัญญัติทางหลวงได้ กำหนดประเภทของทางหลวงไว้ 5 ประเภท
(1) ทางหลวงพิเศษ
(2) ทางหลวงแผ่นดิน
(3) ทางหลวงชนบท
(4) ทางหลวงท้องถิ่น
(5) ทางหลวงสัมปทาน

(1) ทางหลวงพิเศษ
คือ ทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษโดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะ โดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษตามที่กรมทางหลวงจัดทำขึ้นไว้เท่านั้น อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง


ปัจจุบัน (2560) มีทางหลวงพิเศษจำนวน 5 สาย คือ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคเหนือ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือโครงการเส้นทางมอเตอร์เวย์บางปะอิน – นครราชสีมา

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคตะวันออกซึ่งปัจจุบันคือเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ – ชลบุรี

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคใต้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร หรือถนนกาญจนาภิเษก 

(2) ทางหลวงแผ่นดิน
คือ ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่ที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยายบูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงแผ่นดิน ผู้รับผิดชอบและดูแลโครงการคือ กรมทางหลวง ในสังกัดกระทรวงคมนาคม
โดยมีการแยกประเภทไว้ ดังนี้

ทางหลวงแผ่นดินหลัก มี 4 สาย คือ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม



ทางหลวงแผ่นดินสายประธานตามภาค โดยจะเป็นทางที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินหลัก สังเกตุได้จากจะมีตัวเลขกำกับ 2 ตัวเลข อาทิ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24

ทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน ที่มีลักษณะโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลขตัวเดียว หรือสองตัว เข้าสู่สถานที่สำคัญของจังหวัด สังเกตุได้จากจะมีตัวเลขกำกับ 3 ตัวเลข อาทิ 231, 217

ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัด กับอำเภอ หรือสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น ในลักษณะการกระจายพื้นที่ให้บริการทางหลวงออกสู่พื้นที่ย่อย แต่ไม่ได้เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายระยะทางยาว สังเกตุได้จากจะมีตัวเลขกำกับ 4 ตัวเลข อาทิ 2178

(3) ทางหลวงชนบท
คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท ซึ่ง อธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวงชนบท

(4) ทางหลวงท้องถิ่น
คือ ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด

(5) ทางหลวงสัมปทาน
คือ ทางหลวงที่รัฐบาลได้ให้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปทาน ซึ่งอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง

ในอดีตกรมทางหลวงเคยมีทางหลวงสัมปทาน 2 สาย ซึ่งหมดอายุสัมปทานไปแล้ว ได้แก่
1. สายเนินหลังเต่า – บ้านทุ่งเหียง ระยะทาง 14.729 กิโลเมตร
(ปัจจุบันกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3246)
2. สายบูเก๊ะสามี – ดุซงยอ ระยะทาง 15 กิโลเมตร
(ปัจจุบันกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4055)

ปัจจุบัน 2560 กรมทางหลวงมีทางหลวงสัมปทาน 1 สาย คือ ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) บน
ถนนวิภาวดีรังสิต

นอกจากนี้ ทางหลวงเทศบาล และทางหลวงชนบทที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นทางหลวงท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕

ศึกษาเพิ่มเติม
http://www.drr.go.th/sites/default/files/knowledge/070709002.pdf
http://legal.drr.go.th/sites/legal.drr.go.th/files/2_0.pdf

รู้หรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นทางหลวงแผ่นดินจากกรุงเทพฯอยู่ที่ไหน

รูัหรือไม่ว่า ถนนสายหลักหรือที่เรียกว่าทางหลวงแผ่นดิน ในประเทศไทย ประกอบด้วยถนนกี่สาย คำตอบคือ ๔ สาย เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่ภาคต่างๆ โดยเริ่มที่ สายที่ ๑ พหลโยธิน (ไปภาคเหนือ) สายที่ ๒ สุขุมวิท (ไปภาคตะวันออก) สายที่ ๓ มิตรภาพ (ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และสายสุดท้ายสายที่ ๔ เพชรเกษม (ไปภาคใต้)
ย่อมถือได้ว่า จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่ ๔ ต้องอยู่ที่กรุงเทพมหานคร



แล้วจุดเริ่มต้นดังกล่าวอยู่ที่ใด

“กิโลเมตรที่ ๐ ของทางหลวงแผ่นดินสายประธาน หมายเลข ๑ หมายเลข ๓ และหมายเลข ๔ เริ่มจากที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง แยกไปตามถนนต่างๆในกรุงเทพฯ จนถึงจุดเริ่มต้นทางหลวงแผ่นดินสายประธาน คือ ถนนพหลโยธิน จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปลายทางที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถนนสุขุมวิท จากสี่แยกเพลินจิต ปลายทางที่จังหวัดตราด และถนนเพชรเกษม เริ่มจากสะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ ปลายทางที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ต่อมามีทางหลวงสายประธานหมายเลข ๒ คือถนนมิตรภาพ เริ่มต้นจากจังหวัดสระบุรี ไปสะพานมิตรภาพจังหวัดหนองคาย นับ กม.๐ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทับถนนพหลโยธินช่วงกรุงเทพฯ-สระบุรี แล้วจึงแยกออกเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒”



นี่คือใจความที่ปรากฎในแผ่นป้ายคำอธิบายที่ทางกรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นคู่กับป้ายแผนที่ทางหลวงประเทศไทยที่แสดงถึงเส้นทางของถนนสายหลัก หรือที่เรียกว่าสายประธาน ๔ สาย รวมถึงแสดงถนนสายอื่นๆทั่วประเทศ ตั้งอยู่บริเวณขอบวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หัวมุมถนนดินสอ ฝั่งด้านหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

นอกจากนี้ถนนแต่ละสายทั้ง ๔ สายยังมีประวัติหรือจุดกำเนิดการสร้างที่เป็นเรื่องน่าศึกษา ซึ่งท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก
http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/2941/categoryId/87/--0-.aspx

อ้างอิง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1292143939&grpid=01&catid=no
http://www.nationtv.tv/main/content/lifestyle/378461104/

รู้หรือไม่ว่า ที่เรียกว่า 3G หรือ 4G หมายความถึงอะไร


ในสังคมทุกวันนี้เราอยู่ท่ามกลางโลกของการติดต่อสื่อสาร โลกของข้อมูล ชั่วเวลาเศษเสี้ยววินาที ใครเข้าถึงข้อมูล หรือเชื่อต่อสื่อสารได้ก่อน อาจหมายถึงการนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ แม้ว่าการเชื่อมโยง การติดต่อสื่อสารในทุกวันนี้จะถือว่าค่อนข้างดี มีความรวดเร็ว อาจจะมีบ้างเรื่องความนิ่งของสัญญาณ ความเสถียรภาพของการเชื่อมโยง แต่ก็ถือว่าได้ก้าวข้ามจากยุค Analog ไปสู่ Digital สมบูรณ์แบบ


คราวนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า G ไม่ว่า จะเป็น 2G, 3G หรือ 4G คำว่า G ไม่ใช่คำว่า Generation แต่มาจากคำเต็มๆว่า Generation wireless หรือยุคของการสื่อสารไร้สาย (ไม่ว่าจะโดยใช้สัญญาณวิทยุหรือการเข้ารหัสอื่นๆ) โดยอนุมานว่าในแต่ละ Generation ของการสื่อสารไร้สายจะเป็นช่วงเวลาช่วงละ 10 ปี ซึ่งการก้าวข้ามในแต่ละยุคจะมีการพัฒนาย่อยๆ เพิ่มขีดความสามารถในแต่ละ generation ด้วย



เราอาจจะไม่รู้ว่า 4G ได้ให้อะไรในภาพรวมบ้าง แต่ สิ่งที่แน่ก็คือ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ถูกลง ในทุกๆด้าน ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา การใช้ชีวิตในยุคข่าวสารข้อมูล ก้าวข้ามขีดจำกัดในการติดต่อสื่อสารทั่วทุกมุมโลก การพัฒนาชีวิตในสังคมดิจิตอล และอีกไม่นาน เทคโนโลยี 5G ก็จะก้าวเข้ามา สิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนในวันนี้ จะถูกแทนที่ด้วยปริมาณ ความเร็ว ความคงที่ รวมถึง Device ที่จะปฏิวัติโฉมใหม่ไร้กฏเกณฑ์ที่เคยใช้ในวันนี้ลง ซึ่งคงจะได้เห็นกันในปี 2563




ศึกษาเพิ่มเติม :
https://www.techopedia.com/definition/2920/forth-generation-wireless-4g
https://www.orange.com/en/news/2015/mars/5G-towards-the-mobile-Internet-of-the-future



 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนสถาบัน กศน.ภาคตะวันออก2. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand